โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่มีการสลายของเนื้อกระดูก เกิดการเสียหาย การเสื่อมและบางลงของกระดูก เนื่องจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง การสูญเสียแคลเซียม แร่ธาตุที่สำคัญของการสร้างและความเสื่อมสภาพของกระดูกเนื้อเยื่อ โรคนี้จะไม่แสดงอาการเจ็บปวดนอกจากมีความเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกที่ง่ายขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในผู้สูงอายุ โรคกระดูพรุนพบมากในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และสามารถพบได้ในเพศชายเช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่าในเพศหญิง มีปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดโรคพิษสุราเรื้อรังและการขาดฮอร์โมนเพศชาย การผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลดลง สาเหตุของโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนเกิดจากกลไกลการทำงานที่ไม่สมดุลกันของเซลล์สร้างกระดูกและเซลล์การสลายของกระดูก การสูญเสียแคลเซียม การเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อและเซลล์ ทำให้มีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก ซึ่งการเสียสมดุลดังกล่าวเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ อายุที่มากขึ้น โดยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี กระดูกจะบางลงในทุกปี เนื่องจากกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์สร้างเนื้อเยื่อและกระดูกลดลง แต่กลับกันการเสื่อมสลายมีเพิ่มขึ้นขาดการสมดุลของร่างกาย ปริมาณแคลเซียมในร่างกายมีไม่เพียงพอต่อการสร้างเซลล์ของกระดูก สตรีวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภาวการณ์หมดประจำเดือนในผู้หญิง ซึ่งมีอัตราการเร่งการเสื่อมสลายของเซลล์กระดูก เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของการเกิดโรคกระดูกพรุน ร้อยละ 25 ของสตรีอายุมากกว่า 60 ปี กรรมพันธุ์ พบประวัติผู้ป่วยที่คนภายในครอบครัวทางสายเลือดเป็นโรคกระดูพรุน มีความเสี่ยงที่จะได้รับพันธุกรรมดังกล่าวเช่นกัน ขาดสารอาหาร แร่ธาตุและวิตามิน อิทิ เช่น แคลเซียม โปรตีน แมกนีเซียม และวิตามินดี ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายในกระบวนการเสริมสร้างมวลกระดูก การรักษาอาการเจ็บป่วย การใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องใช้ยารักษานี้เป็นเวลานาน […]