โรคเบาหวาน (Diabetes)
เบาหวาน (Diabetes) คือ ภาวะเรื้อรังของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกิดการความบกพร่องของการสร้างอินซูลิน หรือการทำงานของอิซูลิน ส่งผลต่อการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานมีความผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคเบาหวานมักจะเกี่ยวพันกับโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงหลายโรค อวัยต่างๆเสื่อม อาการแทรกซ้อน และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร
อาการของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่มีการแสดงอาการผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายจะพบก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อน อากาของโรคเบาหวานที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่
- กระหายน้ำ ปากแห้ง หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อยขึ้น หากเริ่มมีอาการดังกล่าวมากขึ้น โดยเฉพาะตอนกลางคืนจะกระหายน้ำมากกว่าเดิม ซึ่งเป็นสัญญาณของโรค เนื่องจากร่างกายต้องการขับน้ำตาลที่มีอยู่สูงในเลือดออกมาทางปัสสาวะนั่นเอง
- น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ เป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวานบางชนิด มีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างเร็วมาก
- อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่คงที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลต่อการทำงานทุกระบบและมีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วยเช่นกัน
- บาดแผลหายช้า มีการติดเชื้อหรือรอยพกช้ำ
สาเหตุของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่
- ความผิดปกติของตับอ่อน เสื่อมสภาพ ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอิซูลินได้ หรือไม่เพียงพอต่อร่างกาย รวมถึงการเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน
- กรรมพันธุ์ จากประวัติของผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่พบว่า ผู้ที่มีพ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้เช่นเดียวกัน หรือผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมาอยู่แล้วโดยกำเนิด
- โรคอ้วนหรือความอ้วน ร้อยละ 80 ของคนที่เป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานค่อนข้างสูง ซึ่งจากน้ำตาลในเลือดหรือไขมันส่วนเกินจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน
- การรับประทานอาหาร เนื่องจากปัจจุบัน พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งเต็มไปด้วยแป้งและไขมัน เครื่องดื่มแต่ละชนิดที่มีน้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถขจัดให้หมดไปจากร่างกายได้ใน 1 วัน
- การเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายน้อยในแต่ละวัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการขจัดน้ำตาลได้น้อย ทำให้น้ำตาลถูกสะสมในเลือดได้ง่าย
การรักษาโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่เราก็สามารถควบคุมและบรรเทาความรุนแรงของโลคได้ ซึ่งการรักษานั้นจจะมีอยู่ 2 วิธีหลักๆ โดยการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน และการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด
- การรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยระดับความรุนแรงของโรคเบาหวาน เบื้องต้องของการรักษาจะให้ผู้ป่วยรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด และผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงของโรคมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามแพทย์สั่งและไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
- การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรก คือาการไม่รุนแรงมากนัก วิธีธรรมชาติบำบัดนั้น จะช่วยบรรเทาอาการได้ดี การควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่เป็นส่วนกระตุ้นให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีการดึงเอาค่ะน้ำตาลออกมาใช้เป็นพลังงานให้มากขึ้น รวมถึงการทำจิตใจให้ผ่องคลาย เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ การทำใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ ยังทำให้เรามีความสุขมากยิ่งขึ้นพื้นฐานจิตใจที่ดีย่อมช่วยยกระดับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างง่ายๆ
วิธีป้องกันโรคเบาหวาน
การป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน สามารถปฏิบัติตามได้ง่ายๆ ดังนี้
- คอยตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลในอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- การรับประทาอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและวิตามินเพียงพอ การรับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว ในข้าวกล้องอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารต่างๆมากมาย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ดี หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลต่อการทำลายตับให้เสื่อมสภาพลง และเสี่ยงต่อภาวะตับแข็ง
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้น้ำตาลและแป้งที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อถูกดึงออกไปใช้เป็นพลังงาน
- ควบคุมน้ำหนักให้คงที่ ลดความเสี่ยงต่อการเกอดโรคอ้วน ซึ่งจากการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์