น้ำตาลในเลือดสูง

น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) คือ ภาวะการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าโดยทั่วไป คนปกติจะมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดประมาณ 70 – 100 มก./ดล. สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มก./ดล. เป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ผู้เข้ารับการตรวจที่งดอาหารอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงก่อนการตรวจ ค่าระดับน้ำตาลจะอยู่ที่ 60-100 มก./ดล. ถ้าตรวจหลังจากการรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ค่าระดับน้ำตาลจะน้อยกว่า 140 มก./ดล.

 

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

โรคเบาหวาน คือ สาเหตุหลักของผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป เนื่องจากร่างกายมีการควบคุมระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ ปัจจัยที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ การรับประยาเบาหวานหรือฉีดอินซูลิน ที่ไม่สม่ำเสมอ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่ควบคุบอาหาร ไม่ออกกำลังกาย อดนอน ได้รับยาต้านอินซูลิน เช่น ยาขับปัสสวะ สเตียรอยด์ เป็นต้น

 

อาการภาวะการระดับน้ำตาลในเลือดสูง

  • กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • หน้ามืด เวียนศีรษะ
  • ตาพร่ามัวการมองเห็นไม่ชัด
  • น้ำหนักลดลง โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • แผลหายช้ากว่าปกติ
  • มีอาการกระตุกเฉพาะที่

 

การรักษาภาวะการระดับน้ำตาลในเลือดสูง

ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง สามารถรักษาหรือควบคุมให้ปกติได้ วิธีการรักษาแพทย์จะพิจารณาจากผู้ป่วย สาเหตุและระดับความรุนแรง ความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ป่วยเป็นหลัก ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน แพทย์จะให้คำแนะนำโดย ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารการ การควบคุมอาหาร ควบคู่กับการออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เริ่มรักษาจากการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การทานยาเบาหวาน หรือฉีดอินซูลินควบคู่ไป ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จากโรคหรือความผิดปกติทางร่างกายต้องเข้ารักษาที่ต้นเหตุ เพื่อปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งบางรายอาจจะต้องฉีดอินซูลินไปพร้อมกับการรักษา

การป้องกันภาวะการระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การป้องกันที่ดีที่สุด คือ เริ่มต้นด้วยการใส่ใจในเรื่องการรับประทานอาหาร การดูแลสุขภาพควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดรับประทานยาหรือหยุดฉีดยา การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และปัสสาวะเป็นประจำ หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์โดยทันที

นมผึ้ง (Royal Jelly) มีสารชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน สามารถช่วยลดและปรับระดับความสมดุลน้ำตาลในเลือด ป้องการการเกิดโรคเบาหวานได้
ผลจากการทดสอบกับอาสาสมัครจำนวน 20 คน การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังรับประทานนมผึ้ง 20 กรัม 2 ชั่วโมงผู้เข้าร่วมทั้งหมดมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและอยู่ในช่วงที่เหมาะสม